กลุ่มอัตราดอกเบี้ย
5-Year Government Bond Futures
Interest Rate Futures หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่ใช้เพื่อป้องกันหรือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงไว้ได้ หรือปรับเปลี่ยนสัดส่วนในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5-Year Government Bond Futures
สรุปลักษณะสัญญา 5-Year Government Bond Futures
หัวข้อ |
ลักษณะสัญญา |
||
---|---|---|---|
สินค้าอ้างอิง | พันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 ปี ที่มีอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 5% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี | ||
ชื่อย่อสัญญา | TGB5 | ||
ขนาดของสัญญา | มูลค่าเท่ากับ 1,000,000 บาท | ||
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ | เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 2 ไตรมาส | ||
ราคาเสนอซื้อขาย | เสนอซื้อขายเป็นราคาต่อพันธบัตรมูลค่า 100 บาท | ||
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ | 0.01 (คิดเป็น 100 บาทต่อสัญญา) | ||
การเปลี่ยนแปลงของ ราคาสูงสุดแต่ละวัน | ± 2.50% จากราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling และ Floor ดังกล่าว ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะหยุดการซื้อขายชั่วคราว ก่อนเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง พร้อมกับขยายช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น ± 5% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด | ||
เวลาซื้อขาย |
|
||
การจำกัดฐานะ | ห้ามมีฐานะสุทธิรวมในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 5Y Gov Bond Futures ในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันเกินกว่า 10,000 สัญญา | ||
วันซื้อขายวันสุดท้าย | วันพุธที่สามของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยในวันนั้นสัญญาที่หมดอายุจะซื้อขาย ได้ถึง เวลา 16:00 น. | ||
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย | กำหนดเป็นราคาต่อพันธบัตรมูลค่า 100 บาท และคำนวณจากอัตราคิดลด (Yield) ของกลุ่มพันธบัตร (Basket of Eligible Bonds) ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย ซึ่งอัตราคิดลดของพันธบัตรแต่ละรุ่นในกลุ่มพันธบัตรนั้น จะเป็นข้อมูลที่ได้รับจากสถาบันการเงินที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากำหนด | ||
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา | ชำระราคาเป็นเงินสด |
อัตราค่านายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 5-Year Government Bond Futures
ช่วงเวลา |
อัตราค่านายหน้า (บาทต่อสัญญา)/วัน/บัญชี |
|
---|---|---|
ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด |
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต |
|
1/11/2012 เป็นต้นไป | 60.00 | 55.00 |
ความรู้ก่อนการลงทุน
ข้อดีของสัญญา FUTURES
- ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีอำนาจในการกำหนดราคาเองได้
- ไม่มีการส่งมอบทองคำจริง ใช้วิธีตัดส่วนต่างซื้อขาย
- ลงทุนน้อยกว่าแต่ทำกำไรได้มากกว่า
- ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง (ขายก่อนซื้อได้)
- สามารถซื้อขายได้ด้วยตนเอง โดยเทรดผ่านทางอินเตอร์เน็ต
- มี Marketing ดูแล ให้ข้อมูล ข่าวสาร ประกอบการตัดสินใจ และติดตามสถานการณ์ลงทุน
การวางเงินค้ำประกัน (Margin)
โดยผู้ที่จะลงทุนใน สัญญา Futures จะต้องวางเงินค้ำประกันก่อน จึงจะสามารถลงทุนได้ ซึ่งเงินวางค้ำประกันมีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับดังนี้
- 1
เงินวางค้ำประกันขั้นต้น หรือที่เรียกว่า Initial Margin (IM)
เป็นเงินวางค้ำประกันเริ่มแรก ซึ่งเป็นเงินเพียงประมาณ 10% ของมูลค่าสินทรัพย์อ้างอิงของสัญญา Futures จริงเท่านั้น
- 2
เงินวางค้ำประกันขั้นต่ำ หรือที่เรียกว่า Maintenance Margin (MM)
คือ หลักประกันรักษาสภาพ หรือหมายถึง วงเงินที่นักลงทุนจะต้องรักษาระดับเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือ 70 % ของเงินวางค้ำประกันขั้นต้น
- 3
หลักประกันปิดฐานะ หรือที่เรียกว่า Force Close (FC)
คือ กรณีที่เงินหลักประกันลดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือ 30 % ของเงินวางค้ำประกันขั้นต้น ซึ่งกรณีนี้ Broker มีสิทธิ์ปิดสถานะซื้อขาย เพื่อหยุดผลการขาดทุนของท่านได้ทันที เว้นแต่ว่าท่านจะเติมเงินเข้ามาภายในเวลา 1 ชั่วโมง
การปรับมูลค่าตามราคาตลาด (Mark-to-Market)
วันที่ |
รายการ |
ราคา ณ สิ้นวัน |
กำไร/ |
โอนเข้า/ |
ยอดเงินหลักประกัน |
---|---|---|---|---|---|
03/02/2552 | ซื้อGold Futures ที่ 15,000 บาท | 70,000 บาท | |||
ปรับปรุงกำไร/ขาดทุน | 15,080 บาท | 4,000 บาท (80 X 50) |
74,000 บาท | ||
04/02/2552 | ปรับปรุง กำไร/ขาดทุน | 14,800 บาท | -14,000 บาท (280 X 50) |
60,000 บาท | |
05/02/2552 | ปรับปรุง กำไร/ขาดทุน | 14,500 บาท | -15,000 บาท (300 X 50) |
45,000 บาท | |
06/02/2552 | วางเงินประกันเพิ่ม | 25,000 บาท | 70,000 บาท | ||
ขาย Gold Futures ที่ 15,050 บาท | 27,500 บาท (550 X 50) |
97,500 บาท |
วันที่ 3 ก.พ.
นาย A เข้าซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สที่ 15,000 บาท จำนวน 1 สัญญา พอสิ้นวัน ราคามาอยู่ที่ 15,080 บาท ทางตลาดจะทำการ Mark-to-Market คำนวณหากำไร ขาดทุนที่นาย A ซื้อไว้กับราคาปิดตลาด 15,080 -15,000 = กำไร 80 บาทคูณด้วย50 (เพราะ1สัญญาโกลด์ฟิวเจอร์สเท่ากับทอง 50 บาท) ดังนั้นในวันนี้นาย A กำไร 4,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชีเท่ากับ 74,000 บาท
วันที่ 4 ก.พ.
ต่อมาในวันที่ 4 ก.พ.ราคาปรับลงลดมาปิดที่ 14,800 บาท คำนวณกำไรขาดทุนแล้ว เท่ากับ 14,800 – 15,080 = (280*50) ขาดทุน 14,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชี ลดลงเท่ากับ 60,000 บาท
วันที่ 5 ก.พ.
สิ้นวันที่ 5 ก.พ.ราคาลดลงปิดตลาดที่ราคา 14,500 บาท คำนวณกำไรขาดทุนแล้ว เท่ากับ 14,500 – 14,800 = (300*50) ขาดทุน 15,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชี ลดลงเท่ากับ 45,000 บาท ทำให้นาย A ต้องเติมเงินเพิ่มเข้ามาอีก 25,000 บาทใน วันรุ่งขึ้น
วันที่ 6 ก.พ.
นาย A เติมเงินเข้ามาและราคากลับดีดตัวสูงขึ้นจึงทำการขายกลับที่ราคา 15,050 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณกำไรขาดทุนแล้วจะเท่ากับ 15,050 – 14,500 = (550*50) กำไร 27,500 บาท สรุปยอดเงินในบัญชีนาย A จะเท่ากับ 97,500 บาท
ขั้นตอนการลงทุน
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย
- 1
ต้องสมัครและเปิดบัญชี กับทาง MTS Gold Futures ก่อน โดยมีเอกสารที่ใช้สมัคร ดังนี้
• สำเนาบัตรประชาชน
• สำเนาทะเบียนบ้าน
• Statement หรือ Book Bank ย้อนหลัง 3 เดือน
• หน้า Book Bank ของธนาคาร (ธ.กสิกร, ธ. กรุงเทพ, ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์) - 2
ต้องมีการวาง เงินหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) กับทางโบรกเกอร์อนุพันธ์
- 3
ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ทางโทรศัพท์ หรือส่งคำสั่งด้วยตนเองผ่านทางinternet
- 4
ปรับปรุงกำไรขาดทุนทุกวัน (Mark-to-Market)
เพื่อให้ท่านได้รับทราบถึงสถานะผลกำไรหรือขาดทุนในสถานะการลงทุนของท่านเอง ซึ่งตลาดจะทำการอัพเดตข้อมูลสถานะการลงทุนของท่านทุกวัน โดยจะมีการเพิ่มของเงินในบัญชีหลักประกัน หากท่านมีสถานะในฝั่งกำไร แต่ในทางตรงกันข้ามหากท่านมีสถานะขาดทุนก็จะมีการหักเงินส่วนที่ขาดทุนจากบัญชีหลักประกันออกไป
- 5
หมั่นตรวจสอบสถานะการลงทุนของท่าน เพื่อลดความเสี่ยงและปรับพอร์ตของท่านให้เหมาะสมกับสภาพตลาด