กลุ่มหุ้นดัชนี
SET50 Index Options
SET50 Index Options หมายถึง สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ซื้อได้สิทธิใน การ "ซื้อ" หรือได้รับสิทธิในการ"ขาย" ดัชนี SET50 จากผู้ขายในเงื่อนไข และราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาออปชั่น หรือที่เรียกว่า ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) SET50 Index Options มีจุดเด่นที่สามารถใช้สร้างกลยุทธ์ ทำกำไรได้ใน ทุกสภาวะตลาด สามารถนำมาผสมผสานกับฟิวเจอร์ส หรือหุ้นเพื่อออกแบบกลยุทธ์ลงทุน รับมือกับตลาดได้ทั้งในภาวะขาขึ้น ขาลง และตลาดคงตัว นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนที่เสี่ยงน้อยกว่าฟิวเจอร์ส อีกทั้งยังใช้เงินลงทุนน้อยกว่า เพราะสัญญามีขนาดเล็กกว่าฟิวเจอร์สถึง 5 เท่า SET50 Index Options
สรุปลักษณะสัญญา SET50 Index Options
หัวข้อ |
ลักษณะสัญญา | ||
---|---|---|---|
สินค้าอ้างอิง | ดัชนี SET50 ที่คำนวณ และเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | ||
ชื่อย่อสัญญา | S50C: Call Options
S50P: Put Options | ||
ตัวคูณดัชนี | 200 บาท ต่อ 1 จุดของดัชนี | ||
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ | เดือนใกล้ 3 เดือนติดต่อกัน และ เดือนสุดท้ายของไตรมาสถัดไป | ||
ราคาเสนอซื้อขาย | เสนอซื้อขายเป็นระดับดัชนี | ||
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ | 0.1 จุด (คิดเป็น 20 บาทต่อสัญญา) | ||
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน | ± 30% ของราคาปิดของดัชนี SET50 ล่าสุด | ||
ประเภทการใช้สิทธิ | ใช้สิทธิได้เมื่อสัญญาถึงกำหนดเท่านั้น (European) | ||
ราคาใช้สิทธิ | - ให้ช่วงห่างของราคาใช้สิทธิเท่ากับ 25 จุด
- ในช่วงเริ่มต้นของทุกวันทำการ กำหนดให้มีออปชั่น Series ต่อไปนี้ | ||
เวลาซื้อขาย |
| ||
การจำกัดฐานะ | ห้ามมีฐานะสุทธิรวมใน SET50 Index Futures และ SET50 Index Options เมื่อคำนวณฐานะเทียบเท่ากับฐานะใน SET50 Index Futures ในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือน รวมกันเกิน 20,000 สัญญา | ||
วันซื้อขายวันสุดท้าย | วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยสัญญาที่ครบอายุจะสิ้นสุดการซื้อขายในเวลา 16:30 น. | ||
ราคาที่ใช้ชำระราคา ในวันซื้อขายวันสุดท้าย | ค่าเฉลี่ยของดัชนี SET50 ในวันซื้อขายวันสุดท้าย โดยคำนวณจากค่าดัชนี SET50 ในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออก และ ใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง | ||
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา | ชำระราคาเป็นเงินสด |
อัตราค่านายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า SET50 Index Options
- อัตราค่านายหน้ายังคงใช้โครงสร้างแบบข้ันบันไดปัจจุบัน แต่หากปริมาณการซื้อขายถึงข้ันใด ให้ใช้อัตรานั้นตั้งแต่สัญญาแรก
- สำหรับการส่งคำสั่งซื้อขายทางอินเตอร์เนต มีส่วนลดร้อยละ 10 จากอัตราปกติทุกสินค้าอ้างอิง
- อัตราดังกล่าวข้างต้นยังไม่รวม VAT 7%
ปริมาณการซื้อขายต่อวันต่อบัญชี |
อัตราค่าธรรมเนียม* (บาท/สัญญา/ข้าง) ตั้งแต่สัญญาแรกต่อวัน | ||
---|---|---|---|
ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด |
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต |
ระยะเวลาที่มีผลบังคับใช | |
สัญญาที่ 1- 25 | 84.1 | 76.1 | 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป |
สัญญาที่ 26 - 100 | 64.1 | 58.1 | 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป |
สัญญาที่ 101 - 500 | 44.1 | 40.1 | 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป |
ตั้งแต่สัญญาที่ 501 เป็นต้นไป | 34.1 | 31.1 | 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป |
** อัตราค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับตลาดอนุพันธ์,สำนักหักบัญชี และสำนักงานก.ล.ต.
ความรู้ก่อนการลงทุน
ข้อดีของสัญญา FUTURES
- ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีอำนาจในการกำหนดราคาเองได้
- ไม่มีการส่งมอบทองคำจริง ใช้วิธีตัดส่วนต่างซื้อขาย
- ลงทุนน้อยกว่าแต่ทำกำไรได้มากกว่า
- ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง (ขายก่อนซื้อได้)
- สามารถซื้อขายได้ด้วยตนเอง โดยเทรดผ่านทางอินเตอร์เน็ต
- มี Marketing ดูแล ให้ข้อมูล ข่าวสาร ประกอบการตัดสินใจ และติดตามสถานการณ์ลงทุน
การวางเงินค้ำประกัน (Margin)
โดยผู้ที่จะลงทุนใน สัญญา Futures จะต้องวางเงินค้ำประกันก่อน จึงจะสามารถลงทุนได้ ซึ่งเงินวางค้ำประกันมีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับดังนี้
- 1
เงินวางค้ำประกันขั้นต้น หรือที่เรียกว่า Initial Margin (IM)
เป็นเงินวางค้ำประกันเริ่มแรก ซึ่งเป็นเงินเพียงประมาณ 10% ของมูลค่าสินทรัพย์อ้างอิงของสัญญา Futures จริงเท่านั้น
- 2
เงินวางค้ำประกันขั้นต่ำ หรือที่เรียกว่า Maintenance Margin (MM)
คือ หลักประกันรักษาสภาพ หรือหมายถึง วงเงินที่นักลงทุนจะต้องรักษาระดับเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือ 70 % ของเงินวางค้ำประกันขั้นต้น
- 3
หลักประกันปิดฐานะ หรือที่เรียกว่า Force Close (FC)
คือ กรณีที่เงินหลักประกันลดต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือ 30 % ของเงินวางค้ำประกันขั้นต้น ซึ่งกรณีนี้ Broker มีสิทธิ์ปิดสถานะซื้อขาย เพื่อหยุดผลการขาดทุนของท่านได้ทันที เว้นแต่ว่าท่านจะเติมเงินเข้ามาภายในเวลา 1 ชั่วโมง
การปรับมูลค่าตามราคาตลาด (Mark-to-Market)
วันที่ |
รายการ |
ราคา ณ สิ้นวัน |
กำไร/
|
โอนเข้า/
|
ยอดเงินหลักประกัน |
---|---|---|---|---|---|
03/02/2552 | ซื้อGold Futures ที่ 15,000 บาท | 70,000 บาท | |||
ปรับปรุงกำไร/ขาดทุน | 15,080 บาท | 4,000 บาท
(80 X 50) | 74,000 บาท | ||
04/02/2552 | ปรับปรุง กำไร/ขาดทุน | 14,800 บาท | -14,000 บาท
(280 X 50) | 60,000 บาท | |
05/02/2552 | ปรับปรุง กำไร/ขาดทุน | 14,500 บาท | -15,000 บาท
(300 X 50) | 45,000 บาท | |
06/02/2552 | วางเงินประกันเพิ่ม | 25,000 บาท | 70,000 บาท | ||
ขาย Gold Futures ที่ 15,050 บาท | 27,500 บาท
(550 X 50) | 97,500 บาท |
วันที่ 3 ก.พ.
นาย A เข้าซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สที่ 15,000 บาท จำนวน 1 สัญญา พอสิ้นวัน ราคามาอยู่ที่ 15,080 บาท ทางตลาดจะทำการ Mark-to-Market คำนวณหากำไร ขาดทุนที่นาย A ซื้อไว้กับราคาปิดตลาด 15,080 -15,000 = กำไร 80 บาทคูณด้วย50 (เพราะ1สัญญาโกลด์ฟิวเจอร์สเท่ากับทอง 50 บาท) ดังนั้นในวันนี้นาย A กำไร 4,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชีเท่ากับ 74,000 บาท
วันที่ 4 ก.พ.
ต่อมาในวันที่ 4 ก.พ.ราคาปรับลงลดมาปิดที่ 14,800 บาท คำนวณกำไรขาดทุนแล้ว เท่ากับ 14,800 – 15,080 = (280*50) ขาดทุน 14,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชี ลดลงเท่ากับ 60,000 บาท
วันที่ 5 ก.พ.
สิ้นวันที่ 5 ก.พ.ราคาลดลงปิดตลาดที่ราคา 14,500 บาท คำนวณกำไรขาดทุนแล้ว เท่ากับ 14,500 – 14,800 = (300*50) ขาดทุน 15,000 บาท ทำให้ยอดเงินในบัญชี ลดลงเท่ากับ 45,000 บาท ทำให้นาย A ต้องเติมเงินเพิ่มเข้ามาอีก 25,000 บาทใน วันรุ่งขึ้น
วันที่ 6 ก.พ.
นาย A เติมเงินเข้ามาและราคากลับดีดตัวสูงขึ้นจึงทำการขายกลับที่ราคา 15,050 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณกำไรขาดทุนแล้วจะเท่ากับ 15,050 – 14,500 = (550*50) กำไร 27,500 บาท สรุปยอดเงินในบัญชีนาย A จะเท่ากับ 97,500 บาท
ขั้นตอนการลงทุน
ขั้นตอนการซื้อ-ขาย
- 1
ต้องสมัครและเปิดบัญชี กับทาง MTS Gold Futures ก่อน โดยมีเอกสารที่ใช้สมัคร ดังนี้
• สำเนาบัตรประชาชน
• สำเนาทะเบียนบ้าน
• Statement หรือ Book Bank ย้อนหลัง 3 เดือน
• หน้า Book Bank ของธนาคาร (ธ.กสิกร, ธ. กรุงเทพ, ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์) - 2
ต้องมีการวาง เงินหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) กับทางโบรกเกอร์อนุพันธ์
- 3
ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ทางโทรศัพท์ หรือส่งคำสั่งด้วยตนเองผ่านทางinternet
- 4
ปรับปรุงกำไรขาดทุนทุกวัน (Mark-to-Market)
เพื่อให้ท่านได้รับทราบถึงสถานะผลกำไรหรือขาดทุนในสถานะการลงทุนของท่านเอง ซึ่งตลาดจะทำการอัพเดตข้อมูลสถานะการลงทุนของท่านทุกวัน โดยจะมีการเพิ่มของเงินในบัญชีหลักประกัน หากท่านมีสถานะในฝั่งกำไร แต่ในทางตรงกันข้ามหากท่านมีสถานะขาดทุนก็จะมีการหักเงินส่วนที่ขาดทุนจากบัญชีหลักประกันออกไป
- 5
หมั่นตรวจสอบสถานะการลงทุนของท่าน เพื่อลดความเสี่ยงและปรับพอร์ตของท่านให้เหมาะสมกับสภาพตลาด